top of page

โครงการ 10,000 เตียง

ความเป็นมาของโครงการ
          เทศบาลเมืองเกาะสมุยมีพื้นที่ ๒๕๒ ตารางกิโมเมตร ประชากร ๕๔,๙๗๙ คน มีโรงพยาบาลเกาะสมุย ขนาด ๑๒๐ เตียง มีผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคความดัน โรคเบาหวาน ที่ต้องนอนรักษา ตัวนานจำนวนมากทำให้เตียงไม่ เพียงพอ ผู้บริหารเทศบาลเมืองเกาะสมุย จึงกำหนดนโยบายให้บริการทางแพทย์เชิงรุก เรียกว่า “โรงพยาบาลหนึ่งหมื่นเตียง” คือ ดำเนินการพัฒนาทาง ด้านสาธารณสุขเชิงรุก เน้นการสร้างเสริมสุขภาพของคนในชุมชนเมือง เพื่อให้ คนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงปราศจากโรค และเน้นการบริการผู้พิการและผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรัง

เป้าหมายหลักโครงการ
          คือ การดูแลสุขภาพของประชาชนที่ป่วยเรื้อรังเช่นหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคชรา โดยจะเข้าไปบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน โดยแพทย์ พยาบาล และญาติที่มีความรู้การดูแลรักษาผู้ป่วยเรื้อรัง



วัตถุประสงค์โครงการ
          ๑.เพื่อให้บริการทางการแพทย์ในเชิงรุกและส่งเสริมสุขภาพประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเกาะสมุย
          ๒.เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีความประสงค์จะรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้รับบริการทางการแพทย์และอยู่กับครอบครัวอย่างมีความสุข        

          ๓.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองรวมทั้งดูและผู้ป่วยในครอบครัวได้อย่างถูกต้องโดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่จำเป็นต้องดูแลรักษาเป็นระยะเวลานาน
          ๔.เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ป่วยและญาติ มีสุขภาพกายและจิตใจที่ดี 



การให้บริการ โครงการ
          ๑. เยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านพักอาศัย โดยทีมเจ้าหน้าที่แพทย์และพยาบาลฉุกเฉิน ทุกวันอังคาร,วันพุธ,วันศุกร์
          ๒. จัดรถพยาบาลฉุกเฉิน รับ - ส่ง ผู้ป่วยที่เป็นสมาชิกระหว่างบ้าน ถึง โรงพยาบาล ในเขตเทศบาลเมือง เกาะสมุยและในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ฟรี (ไม่รวมค่าเรือเฟอร์รี่)
          ๓. บริการให้ยืมอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น ต่อการดูแลรักษา เช่น เตียง ที่นอน ที่นอนลม รถเข็น ไม้เท้าสามขา


ขั้นตอนการสมัครเข้าร่วมโครงการ
คุณสมบัติ
          - กลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ อายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขี้นไป ผู้ป่วยเรื้อรัง ความดันโลหิต หัวใจ เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต
          - กลุ่มผู้ป่วยพิการ ทุพพลภาพ ผู้ป่วยด้วยโอกาส มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลเมืองเกาะสมุย


หลักฐานในการสมัคร
         ๑. รูปถ่าย
         ๒. สำเนาทะเบียนบ้านจำนวน ๑ ชุด
         ๓. สำเนาบัตรประชาชนจำนวน ๑ ชุด

ผลการดำเนินงานของโครงการ

          เริ่มจัดตั้งโครงการเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ โดยมีขั้นตอนการทำงาน ดังนี้
          ๑. จัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาระบบสาธารณสุขเทศบาล

              ๑.๑ โครงการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้พิการ 

              เริ่มโครงการตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ - ถึงปัจจุบัน มีจำนวนสมาชิก(ผู้ป่วย) เข้าโครงการจำนวนรวม ๑,๙๖๐ คน แยกเป็น
๒๕๕๒ - ปี ๒๕๕๓ จำนวน ๑,๑๑๙ คน ปี ๒๕๕๔ - เดือนเมษายน ๒๕๕๕ จำนวน ๘๔๑ คน

              รายงานผลการปฎิบัติงาน ประจำปี ๒๕๕๒ - ถึงปัจจุบัน  ได้ให้บริการดังนี้
              - เยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน                                     ๑๐,๓๕๐  ครั้ง
              - ยืมเตียง                                                         ๖๐  ราย
              - ยืมรถเข็น                                                       ๕๑  ราย
              - ยืมที่นอนลม                                                   ๓๓  ราย
              - มอบไม้เท้าสี่ขา                                               ๒๐  ราย
              - มอบไม้เท้าสาีมขา                                           ๑๐  ราย
              - มอบPAMPASE                                             ๖๗  ราย
              - มอบอาหารเหลว                                           ๔๑๐  ราย
              - มอบชุดกิ๊ฟเซ็ต                                              ๖๓๐  ราย



แฟ้มประวัติผู้ป่วย แยกเป็น ๓ ประเภท
          ผู้ป่วยประเภท A คือ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โรคอัมพาต นอนติดเตียง เยี่ยมเดือนละ ๑ ครั้ง มีจำนวนผู้ป่วย =  ๑๙๕  คน
          ผู้ป่วยประเภท B คือ ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บางส่วน เช่นโรคชรา อัมพฤกษ์ พิการบางส่วน เยี่ยม ๒ เดือน / ครั้ง มีจำนวนผู้ป่วย=๖๙๐   คน
          ผู้ป่วยประเภท C ช่วยเหลือตัวเองได้ ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้ มีภาวะเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคเรื้อรังต่างๆ เบาหวาน หัวใจ ความดัน โลหิตสูง เยี่ยม ๓ เดือน / ครั้ง มีจำนวนผู้ป่วย =  ๑,๐๗๕  คน

             ๑.๒ จัดตั้งโครงการแพทย์ฉุกเฉิน รถอภิบาลฉุกเฉินเคลื่อนที่ ๒๔ ชั่วโมง โดยสามารถแจ้งเหตุได้ที่โทร ๑๖๖๙ และ Hotline ๑๑๓๒

             ๑.๓ จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองเกาะสมุย

ที่มาและเป้าหมาย
            ตามเจตนารมณ์แห่ง พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔๗ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับคนในพื้นที่โดยส่งเสริม กระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการของ
ประชาชนในท้องถิ่น

วัตถุประสงค์
          ๑. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยงานบริการหรือสถานบริการอื่นรวมถึงสถานบริการทางเลือก โดยเป็นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ การป้องกันโรคและ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุภาพและการดำรงชีวิต
          ๒. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรงเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข ในด้านการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพอย่างน้อยตามประเภทและขอบเขตของการบริการสาธารณสุข ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
          ๓. เพื่อให้เกิดสุขภาพของคนในท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของบุคคลในท้องถิ่นหรือพื้นที่
          ๔. เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนหลักประกันสุขภาพในรอบปีงบประมาณนั้นและในกรณีที่จำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ครุภัณฑ์นั้นต้องมีราคาไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ต่อหน่วย

ขั้นตอนการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาล
          ขั้นตอนที่ ๑
          ๑. นายกเทศมนตรี เห็นชอบและประสงค์เข้าร่วมดำเนินงานกองทุนฯ โดยส่งหนังสือแสดงความจำนงตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดและลงนามในแบบแสดงความจำนง
          ๒. มีความพร้อมในการสมทบงบประมาณในปีที่สมัครจัดตั้งกองทุน
          ๓. มีความพร้อมในการคัดเลือกคณะกรรมการบริหารกองทุนแบบมีส่วนร่วม
          ขั้นตอนที่ ๒
          ๑. มีข้อมูลสุขภาพชุมชน แผนสุขภาพชุมชนหรือแผนที่เดินยุทธศาสตร์
          ๒. ประธานกรรมการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเลขานุการเข้ารับการอบรม เตรียมความพร้อม คณะกรรมการบริหารกองทุนเทศบาลที่เข้าร่วมกองทุนต้องจัดให้มีคณะกรรมการชุดหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาล” โดยเทศบาลเสนอรายชื่อตามหลักเกณฑ์ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้งประกอบ
ด้วย
          ๑. ที่ปรึกษาประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาล และสาธารณสุขอำเภอ
          ๒. คณะกรรมการ ประกอบด้วย
              ๒.๑ นายกเทศมนตรี เป็นประธานกรรมการ
              ๒.๒ ผู้ทรงคุณวุฒิ ๒ คน เป็นรองประธานคนที่ ๑ และคนที่ ๒
              ๒.๓ สมาชิกสภาเทศบาลที่สภาเทศบาลมอบหมาย จำนวน ๒ คน เป็นกรรมการ
              ๒.๔ หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ทุกแห่ง เช่น หัวหน้าหน่วยงานอนามัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาล หรือหัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุข และศูนย์แพทย์ชุมชนเป็นกรรมการ
              ๒.๕ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนในพื้นที่คัดเลือกกันเอง จำนวน ๒ คน เป็นกรรมการ
              ๒.๖ ผู้แทนชุมชนที่ประชาชนในชุมชนคัดเลือกกันเอง ไม่เกิน ๕ คน เป็นกรรมการ
              ๒.๗ ผู้แทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนหรือกรรมการศูนย์รับเรื่องร้องเรียนอิสระในพื้นที่หน่วยละ ๑ คน (ถ้ามี) เป็นกรรมการ
              ๒.๘ ปลัดเทศบาลหรือเจ้าหน้าที่อื่นที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย เป็นเลขานุการ ในกรณีประธานกรรมการไม่มีหรือมีแต่ไม่อาจปฎิบัติราชการได้ให้รองประธานกรรมการทำหน้าที่ประธานที่ประชุมตามลำดับ 
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุน

          ๑. บริการจัดการกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
          ๒. รับผิดชอบการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำ บัญชี หรือทรัพย์สินในกองทุนให้เป็นไปตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
          ๓. ดำเนินการให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ในความรับผิดชอบสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขทั้งที่บ้าน และในชุมชน หรือหน่วยบริการได้อย่างทั่่วถึงและมีประสิทธิภาพ
          ๔.จัดทำข้อมูลและแผนดำเนินงานที่เกี่ยวกับปัญหาสาธารณสุขกลุ่มเป้าหมายและหน่วยบริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง
          ๕. จัดทำสรุปผลการดำเนินงาน รายงานการรับจ่ายและเงินคงเหลือของกองทุนเมื่อสิ้นปีงบประมาณเพื่อเสนอ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและเทศบาลภายใน เดือนธันวาคมของทุกปี
          ๖.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อดำเนินงานที่เกี่ยวข้องได้ ตามความจำเป็นวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการมี วาระ ๒ ปี นับจากวันที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติออกคำสั่งแต่งตั้งองค์ประกอบของการดำเนินงานกองทุน มี ๔ ประการ
          ๑. มีคณะกรรมการบริหารกองทุน ซึ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้ง
          ๒. มีเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ คือ เงินสมทบสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เงินสมทบของเทศบาล เงินสมทบจากชุมชนหรือกองทุนชุมชน และรายได้อื่นๆ
          ๓. มีแผนงานโครงการที่ครอบคลุมกิจการทั้ง ๔ ประเภท โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ
          ๔. มีระบบรายงานของกองทุนฯ ผ่านโปรแกรมบริหารจัดการกองทุนฯ ในระบบอนนไลน์ 

          การดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพโดยแบ่งลักษณะของกิจกรรมที่จะของบประมาณจากกองทุน ๔ ประเภท

         ประเภทที่ ๑ กิจกรรมการจัดบริการสุขภาพป้องกันและฟื้นฟูตามชุดสิทธิประโยชน์ จัดบริการแก่ กลุ่มเป้าหมาย ๕ กลุ่มเป้าหมาย คือ

          ๑) กลุ่มแม่และเด็ก
          ๒) กลุ่มเด็กแรกเกิด ถึง ๖ ปี
          ๓) กลุ่มเด็กโตตั้งแต่อายุ ๖ ปี ถึง ๓๕ ปี
          ๔) กลุ่มผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ ๒๕ ปีขึ้นไป
          ๕) กลุ่มผู้พิการและทุพลภาพ
          ประเภทที่ ๒ กิจกรรมสนับสนุนงบประมาณเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการ ในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพและการปฐมพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตหรือใช้ป้องกัน
และแก้ไขปัญหาเร่งด่วน เช่น การป้องกันโรคติดต่อตามฤดูกาลให้แก่สถานีอนามัยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น
          ประเภทที่ ๓ กิจกรรมสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนและชุมชนท้องถิ่นโดยสนับสนุนงบประมาณเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และ การส่งเสริมภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่เกิด
จากความคิดริเริ่มของประชาชน และองค์กรในท้องถิ่นครอบคลุม ๕ กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย
          - กลุ่มแม่และเด็ก
          - กลุ่มผู้สูงอายุ
          - กลุ่มผู้พิการ
          - กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง
          - กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่
          ประเภทที่ ๔ กิจกรรมการบริหารกองทุน การพัฒนาคุณภาพคณะกรรมการและการพัฒนาระบบการบริหารจัดการโดยสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ในการบริหารจัดการหรือพัฒนาคณะกรรมการ พัฒนาอนุกรรมการและคณะทำงาน
อื่นๆ ที่กรรมการกองทุนฯ แต่งตั้งให้มีประสิทธิภาพรวมถึงการจัดซื้อครุภัณฑ์ต้องมีราคาไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ต่อหน่วย สำหรับค่าตอบแทนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานอื่นๆ ที่เข้าร่วมประชุม จ่ายได้ไม่เกิน ๒๐๐ บาท ต่อคน/ครั้ง ทั้งนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้กำหนดเกณฑ์การใช้เงินประเภท กิจกรรมนี้ไว้ไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของค่าใช้จ่าทั้งหมดของกองทุนฯ ในรอบปีงบประมาณนั้นๆ
    
การจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเกาะสมุย
          เทศบาลเมืองเกาะสมุยโดยนายกเทศมนตรีเมืองเกาะสมุย(นายรามเนตร ใจกว้าง ) ได้จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพขึ้น เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ( ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ) 

         งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเกาะสมุย

          ๑. เริ่มดำเนินงานในปีงบประมาณ ๒๕๕๒
              - กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุน  จำนวน   ๑,๙๕๕,๘๑๒.๕๐ บาท
              - เทศบาลเมืองเกาะสมุย (๕๐%)     สมทบเงิน    จำนวน     ๙๗๗,๙๐๖.๒๕  บาท
              - รายได้อื่นๆ (ดอกเบี้ย)                                    จำนวน           ๔,๙๐๒.๔๖  บาท
                                      รวมงบประมาณกองทุน             จำนวน   ๒,๙๓๘,๖๒๑.๒๑  บาท   


          ๒. เริ่มดำเนินงานในปีงบประมาณ ๒๕๕๓
              - กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุน   จำนวน   ๓,๗๖๔,๒๘๐.๐๐ บาท
              - เทศบาลเมืองเกาะสมุย (๒๐๐%)    สมทบเงิน    จำนวน   ๔,๒๗๐,๘๐๐.๐๐  บาท
              - รายได้อื่นๆ (ดอกเบี้ย)                                     จำนวน        ๑๕,๑๗๗.๒๖  บาท
                                     รวมงบประมาณกองทุน               จำนวน   ๘,๐๕๐,๒๕๗.๒๖  บาท   


         ๓. เริ่มดำเนินงานในปีงบประมาณ ๒๕๕๔
             - กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ   สนับสนุน   จำนวน   ๓,๗๖๔,๖๔๐.๐๐ บาท
             - เทศบาลเมืองเกาะสมุย (๑๕๐%)    สมทบเงิน     จำนวน   ๕,๖๔๖,๙๖๐.๐๐  บาท
             - รายได้อื่นๆ (ดอกเบี้ย)                                       จำนวน        ๕๔,๑๓๑.๙๘  บาท
                                      รวมงบประมาณกองทุน               จำนวน  ๙,๔๖๕,๗๓๑.๙๘  บาท   

                

                                คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเกาะสมุย
                                                     คณะกรรมการฯ จำนวน ๒๓  คน  ดังนี้
                                                             นายเชิด ทองสุข ที่ปรึกษา

          ๑. นายรามเนตร ใจกว้าง ประธานกรรมการ
          ๒. นายสุรพงษ์ วิริยานท์ รองประธานกรรมการ
          ๓. นายปานเทพ วิริยานนท์ รองประธานกรรมการ
          ๔. นายแพทย์เฉลิมพงษ์ สุคนธผล ที่ปรึกษา
          ๕. นายพิชัย ผ่องแผ้ว กรรมการ
          ๖. นายปกรณ์ กาญจนโอภาส กรรมการ
          ๗. นางนันทยา คัคนานตดิลก กรรมการ
          ๘. นางแสงสุทธิ์ อินทร์แก้ว กรรมการ
          ๙. นายอนุชา แสงศรี กรรมการ
          ๑๐. นายทวีศักดิ์ รักฤทธิ์ กรรมการ
          ๑๑. นายสมพงษ์ สุทธิจันทร์ กรรมการ
          ๑๒. นางนวลจันทร์ โชติโรจนอนันต์ กรรมการ
          ๑๓. นายนิเวศน์ ศักดิ์ศรี กรรมการ
          ๑๔. นายภิญโญ มุสิกพงษ์ กรรมการ
          ๑๕. นายเอกลักษณ์ ธรรมสุวรรณ กรรมการ
          ๑๖. นายสาธิต ยืนนาน กรรมการ
          ๑๗. นายอดิศักดิ์ ปลอดภัย กรรมการ
          ๑๘. นางสมจิตร์ กลั่นสกุลวินเดอร์ลิช กรรมการ
          ๑๙. นายจรูญ แทนโชติ กรรมการ
          ๒๐. นายศิริพร สอนสง กรรมการ
          ๒๑. นายอาทิตย์ ยืนนาน กรรมการ
          ๒๒. นายเอกภพ ศรีแสง กรรมการ
          ๒๓. นางสาวพรทิพย์ จันทร์ผ่อง      กรรมการและเลขานุการ
                 นายเชิด  ทองสุข             ที่ปรึกษาคณะกรรมการ

         ผลการดำเนินงานกิจกรรมกองทุนประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒ - ๒๕๕๔

๒.จัดตั้ง “ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล”

ได้ดำเนินก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการกับประชาชนทั่วไป
สถานที่ตั้ง เลขที่ ๘ หมู่ ๔ ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โทร ๐๗๗-๔๘๔๖๘๐ , ๐๘๘๗ู๖๒๐๖๗๖    
เปิดให้บริการตั้งแต่วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.

รายละเอียดในการให้บริการดังนี้
๑. เปิดรักษาโรคทั่วไป โดยมีพยาบาลเวช และ เจ้าหน้าที่ ปฎิบัติงานทุกวัน
และมีการให้บริการเพิ่มพิเศษดังนี้
๑.๑ ทุกวันอังคาร มีนวดแผนไทย
๑.๒ ทุกวันพุธ มีสัตว์แำพทย์ให้บริการ รักษาสัตว์ทุกชนิด
๑.๓ ทุกวันพฤหัสบดี มีแำพทย์ให้บริการรักษา ยกเว้นแพทย์ติดงานประชุมก็จะงด
๒. ค่ารักษาพยาบาล ใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพ (บัตรสามสิบบาท) , บัตรประกันสังคม


โครงการโรงพยาบาลหนึ่งหมื่นเตียงออกเยี่ยมพร้อมแพทย์

มีแพทย์ร่วมเยี่ยมผู้ป่วยทุกวันอังคาร,วันพุธ,วันศุกร์

โครงการโรงพยาบาลหนึ่งหมื่นเตียงออกเยี่ยมโดยทีมเทศบาลเมืองเกาะสมุย

โครงการโรงพยาบาลหนึ่งหมื่นเตียงร่วมกับสมาชิกสภา

โครงการโรงพยาบาลหนึ่งหมื่นเตียงร่วมกับอาสาสมัคร ประจำหมู่บ้าน

โครงการโรงพยาบาลหนึ่งหมื่นเตียงร่วมกับโรงพยาบาลเกาะสมุย

โครงการโรงพยาบาลหนึ่งหมื่นเตียงประจำปี 2555
สรุปการขอยืมอุปกรณ์ทางการแพทย์

—มอบรถเข็นให้แก่ นางสาวอรพิน  เรืองศรี  บ้านเลขที่  41  หมู่ที่ 2  ตำบลอ่างทอง  อำเภอเกาะสมุย  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

มอบเตียงให้แก่ นางลำเจียก  ศรีแผ้ว  บ้านเลขที่  22/1  หมู่ที่ 1   ตำบลอ่างทอง  อำเภอเกาะสมุย  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

© Samui Progress Group

  • Wix Facebook page
  • Wix Twitter page
bottom of page